เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้รู้ชัดกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิ-
วิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา 3 นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วย
ศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่งธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละธรรม
ที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (3)
[171] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราระงับกายสังขารหายใจออก” อย่างไร
กายสังขาร เป็นอย่างไร
คือ ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกาย-
สังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลม
หายใจออกยาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุ
เมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลมหายใจเข้าสั้น
ฯลฯ ลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ
ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่อง
ด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า
สำเหนียกอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :267 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความ
ดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุ
สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับ
กายสังขารเห็นปานนั้นหายใจออก” ความไม่อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป
ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลงแห่ง
กายมีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขาร
ที่ละเอียดสุขุมเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารที่ละเอียด
สุขุมเห็นปานนั้นหายใจออก” ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก” ตามนัยที่ว่ามานี้
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ไม่ปรากฏ
อานาปานสติก็ไม่ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ไม่ปรากฏ และ
ภิกษุผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ไม่ได้ ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา
ระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ
อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ
ผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ ข้อนั้นเหมือนอะไร
เหมือนเมื่อบุคคลเคาะกังสดาล เสียงดังย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด ใส่ใจ
จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาภายหลัง เสียงค่อยย่อม
เป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงค่อยเบา
ลงอีก ต่อมาภายหลัง จิตจึงเป็นไปได้ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์
ลมหายใจเข้าหายใจออกที่หยาบ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด
ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างหยาบได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจ
เข้าหายใจออกอย่างหยาบเบาลง ต่อมาภายหลัง ลมหายใจเข้าหายใจออกอย่าง
ละเอียดจึงเป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก
อย่างละเอียดได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างละเอียดเบาลงอีก ต่อมา
ภายหลัง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน แม้เพราะนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก
อย่างละเอียดเป็นอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :268 }